การกระทำความผิดโดยเจตนา

การกระทำความผิดโดยเจตนา หมายความว่าการกระทำที่ มีการคิด ตกลงใจ ตัดสินใจ กระทำการ โดยที่ตัวเองนั้นรู้สำนึกหรือว่ามีสติสัมปชัญญะโดยสมบูรณ์ โดยเจตนาประสงค์ต่อผลหรือเล็งเห็นผลของการกระทำนั้น ดังนั้นหากว่ามีเจตนากระทำความผิดท่านจึงต้องรับความผิดทางกฎหมายตามฐานความผิดต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในกฎหมาย เพื่อรับบทลงโทษ บ้านเมืองต้องมีขื่อมีแปมิฉะนั้น ประชาชนจะใช้ชีวิตกันอยู่ไม่ได้อาจจะมีบางคนทำตามใจที่ตนเองต้องการ ไม่สนใจความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการกระทำของตนเองต่อบุคคลอื่น เป็นสิ่งที่ใช้ไม่ได้ จึงต้องมีกฎหมายควบคุมดังที่กล่าวมาแล้ว ยามที่บ้านเมืองใดเกิดสงครามกลางเมือง กฎหมายใช้ไม่ได้ผล ช่วงนั้นจะมีคดีความหรือมีคดีอาชญากรรมเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากโดยที่เจ้าหน้าที่ของบ้านเมืองก็ไม่สามารถกระทำการอันใดได้ด้วย ประชาชนทุกคนต้องช่วยตนเองหวังพึ่งใครไม่ได้ นี่คือความเป็นจริงที่เกิดขึ้น หากมีสงครามกลางเมืองเกิดขึ้น มีแต่อาวุธปืนและความรุนแรงเท่านั้น ที่จะแก้ไขปัญหากันได้ การประกันตัวย่อมไม่มีเกิดขึ้นในสถานการณ์พิเศษแบบนี้ ต้องประกาศใช้กฎอัยการศึก การดำเนินการอย่างเฉียบขาด ชัดเจน เหตุการณ์ถือว่าเป็นคนละเงื่อนไขไม่ใช่เหตุการณ์ในยามปรกติ จึงต้องใช้วิธีการที่แตกต่างกันออกไปจากเดิม ดูจากประวัติศาสตร์ ไม่ว่าที่ใจเกิดสงครามการเมืองไม่มีความสงบสุขเกิดขึ้น มีแต่ต้องใช้กำลังทหารเข้าควบคุมสถานการณ์เท่านั้น คือว่าเป็นเคสพิเศษไม่ใช่เหตุการณ์โดยปกติธรรมดาสามัญ คิดอย่างนี้แล้วยังมีใคร ต้องการให้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นอีกบ้าง www.xn--12cm5baskk6cyb5bu3aocv1iumb.com

คดีเช็คความผิดอาญาอันยอมความได้ ข้อแนะนำ

ในคดีความเกี่ยวกับความผิดอาญาอันยอมความได้ หมายความว่าหากโจทก์และจำเลยมีการตกลงกันได้ ก่อนที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด หากจำเลยบรรเทาความเสียหายจนเป็นที่พอใจแก่โจทก์ โจทก์สามารถถอนฟ้องและทำให้คดีสิ้นสุดลงได้ แต่ปัญหามันคือ เมื่อจำเลยทำความเสียหายให้กับโจทก์ เช่นจำเลยออกเช็คแล้วเช็คเด้ง เป็นยอดเงินจำนวน 1 ล้านบาท โจทก์ต้องการให้จำเลยนำเงิน 1 ล้านบาทมาคืนให้กับโจทก์ แต่จำเลยไม่มีเงินจำนวนมากถึง 1 ล้านบาทมาคืนให้ แบบนี้มีปัญหาเกิดขึ้นแน่นอนเพราะโจทก์เองก็ต้องการได้ในสิ่งที่ตัวเองต้องการ ส่วนจำเลยก็ไม่สามารถทำตามที่เขาต้องการให้ได้ ดังนั้นในทางกฎหมายมันสามารถยอมความกันได้ แต่ในความเป็นจริงมันกระทำยากเหมือนกัน เพราะว่าในความเป็นจริงมันติดเงื่อนไขโน่นนี่นั่นเช่นจำเลยไม่มีเงิน มีเงินไม่มากพอ หรือจะนำทรัพย์สินอื่นของจำเลยมาใช้หนี้บางครั้งจำเลยก็ไม่มีทรัพย์สินอะไร ที่มาตีมูลค่าใช้หนี้ได้ อย่างไรก็ดีการพยายามพูดคุยกันจะๆกันระหว่างโจทก์กับจำเลยอย่างสม่ำเสมอ จะทำให้สถานการณ์ดีขึ้น เพราะจะได้เข้าใจซึ่งกันและกัน เพราะโจทก์เองก็ต้องเข้าใจจำเลย ส่วนจำเลยเองก็ต้องเข้าใจโจทก์ว่าเขาเสียหายไปแล้ว เขาก็ต้องได้ในส่วนของเขาคืนมา

วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา

สำหรับวงเงินประกันตัวที่ใช้ในการประกันตัวข้อหาอาญาแต่ละอย่าง แตกต่างกันออกไปตามความหนักเบาของข้อหา ดังนั้นก่อนที่จะดำเนินการประกันตัวจึงต้องสอบถาม กับเจ้าหน้าที่ที่รับประกันตัวให้ละเอียดว่าต้องใช้หลักทรัพย์กี่บาท เพราะท่านจะต้องไปดำเนินการหาหลักทรัพย์มาประกันตัวเองให้เรียบร้อยก่อนวันจริง หลักเกณฑ์ในการใช้กำหนดวงเงินประกันตัว 1. เป็นข้อหาอาญาอะไร2. เป็นข้อหาอาญาฐานความผิดอุกฉกรรจ์หรือไม่3. ถ้าเป็นคดีเช็คหรือฉ้อโกง มียอดความเสียหายกี่บาทตามที่ผู้เสียหายแจ้งมา4. มีพฤติการณ์ของผู้ต้องหาเป็นอย่างไรบ้าง มีการยุ่งเหยิงหรือข่มขู่พยานหลักฐานหรือไม่5. เป็นคดีอุกฉกรรจ์ที่เป็นที่สนใจของประชาชนหรือเปล่า6. ผู้ต้องหามีหมายจับหรือไม่7. อยู่ในเขตพื้นที่ไหน แต่ละพื้นที่อัตราวงเงินประกันตัวอาจจะไม่เท่ากันเสียทีเดียว ตรวจสอบให้ดีศาลตัดสินแล้ว ประกันตัวได้หรือไม่การประกันตัวผู้ต้องหา ที่โรงพัก#ประกันตัวผู้ต้องหา

ศาลตัดสินแล้ว-ประกันตัว

เมื่อศาลตัดสินแล้วเรายังสามารถประกันตัวได้อีกหรือไม่ วันนี้จะมาหาคำตอบกัน เมื่อจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีอาญา ไม่ว่าจะโดยพนักงานอัยการโจทก์ หรือโดยผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล เมื่อคดีดำเนินการต่อไปจนถึงศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้ว หากศาลมีคำพิพากษาจำคุกจำเลย ปกติแล้วในวันที่มีคำพิพากษาคดียังไม่ถึงที่สุด จะต้องใช้เวลาอีก 30 วันในการอุทธรณ์หรือฎีกา ไม่ว่าจะเป็นของฝั่งโจทก์หรือจำเลย หากพ้น 30 วันนี้และโจทก์หรือจำเลยคือคู่ความไม่มีการอุทธรณ์หรือฎีกาเข้ามา คดีเป็นอันถึงที่สุด ในช่วงเวลานี้สามารถออกใบรับรองคดีถึงที่สุดได้ และศาลจะออกหมายขังในคดีถึงที่สุด ในช่วงหลังจากศาลมีคำพิพากษาและภายใน 30 วันระหว่างระยะเวลาที่อุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยสามารถยื่นขอประกันตัวได้ เป็นการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ โดยให้ตรวจสอบมูลค่าหลักทรัพย์ที่จะต้องใช้กับศาล และต้องดูด้วยว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาจำคุกจำเลยมากี่เดือนกี่ปี เพราะจะต้องนำมาคำนวณหลักทรัพย์ที่ใช้ประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ แต่หากคดีถึงที่สุดแล้ว ก็คือไม่มีคู่ความใดยื่นอุทธรณ์เข้ามา หรือไม่มีคู่ความใดขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ คดีเป็นอันถึงที่สุด จำเลยจะต้องรับโทษตามที่ศาลพิพากษานั้น ไม่สามารถประกันตัวได้อีกต่อไป การประกันตัวผู้ต้องหา ที่โรงพัก วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา #รับจ้างประกันตัวผู้ต้องหา คำแนะนำ หลังศาลตัดสินแล้ว หากจะประกันตัว ก็ให้รีบดำเนินการ หรือจะทำการยื่นอุทธรณ์หรือฎีกาและเรายังไม่พร้อมก็ทำการขยายและระยะเวลายื่นอุทธรณ์หรือฎีกาออกไปก่อน ขออย่างเดียวอย่าให้คดีถึงที่สุด จากนั้นเราก็ขอประกันตัวต่อไปได้ หากศาลตัดสิน จำคุกจำเลย เมื่อศาลชั้นต้นตัดสินจำคุกจำเลย และจำเลยไม่มีเงินประกันตัวในวันนั้น ศาลจะทำการออกหมายขังจำเลยระหว่างอุทธรณ์หรือฎีกา จำเลยต้องอยู่ที่เรือนจำ ช่วงนี้คนข้างนอกก็ทำการเตรียมตัว เพื่อประกันตัวต่อไปได้ ประกันตัวในวันที่ศาลชั้นต้นตัดสินเลยดีกว่า หากไม่อยากให้จำเลยต้องเข้าไปนอนในเรือนจำ ในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และจำเลยไปศาลเมื่อศาลอ่านคำพิพากษาจำคุกจำเลย…

การประกันตัวผู้ต้องหา ในชั้นสอบสวนที่โรงพัก

การประกันตัว ผู้ต้องหาในชั้นสอบสวน หรือเป็นการประกันตัวที่โรงพัก เราสามารถดำเนินการอย่างไรได้บ้างก่อนอื่นเราจะมาอธิบายขั้นตอนการดำเนินคดีก่อนจะได้ไม่งง 1. เมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน มีความประสงค์จะดำเนินคดี กับผู้ต้องหา2. พนักงานสอบสวนทำการออกหมายเรียก เรียกผู้ต้องหาเข้ามาให้ปากคำ3. เมื่อผู้ต้องหาเข้ามาให้ปากคำ กับพนักงานสอบสวน กรณีนี้อาจจะต้องมีการประกันตัวด้วย4. หากออกหมายเรียก 2 ครั้งแล้วไม่มา พนักงานสอบสวนที่ทำการออกหมายจับ5. ถ้ามีการออกหมายจับแล้ว ต่อมามีการจับตัวผู้ต้องหาได้ กรณีนี้มักจะต้องประกันตัวเสมอ6. โดยการประกันตัวนี้จะต้องเป็นการขออำนาจศาล เพื่ออนุมัติการประกันตัว แต่เป็นการประกันตัวที่ใช้พนักงานสอบสวนหรือชั้นโรงพัก7. กรณีคดีที่จะต้องยื่นฟ้อง แล้วพนักงานสอบสวนผลัดฟ้อง ก็จะต้องมีการประกันตัวด้วย ดังนั้นหากไม่ต้องการหรือลดความเสี่ยงในการที่จะต้องประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวนหรือที่โรงพัก เมื่อมีหมายเรียกก็ให้ไปตามหมายเรียกที่พนักงานเรียกไป ไปให้ปากคำให้ข้อเท็จจริงซึ่งบางครั้งเราอาจจะไม่ได้มีความผิดก็ได้วงเงินประกันตัวผู้ต้องหา ศาลตัดสินแล้ว ประกันตัวได้ไหม #รับประกันตัวผู้ต้องหา ขั้นตอนต่อไปของการประกันตัวที่โรงพัก เมื่อผู้ต้องหาไปให้ปากคำแล้ว จากนั้นพนักงานสอบสวนจะทำการส่งสำนวนไปให้สำนักงานอัยการ ทำการตรวจเพื่อเขียนฟ้อง และส่งฟ้องไปยังศาลชั้นต้นในเขตอำนาจรับผิดชอบ ต่อไป ซึ่งในขั้นตอนนี้ อาจจะต้องมีการประกันตัวในชั้นศาลอีกครั้งหนึ่งด้วย โดยการประกันตัวในชั้นศาลจะประกันตัวในวันที่พนักงานอัยการยื่นฟ้องต่อศาลชั้นต้น คดีอาญาที่ผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล คดีประเภทนี้ จะไม่ได้ผ่านโรงพักหรือไม่ได้ผ่านพนักงานสอบสวน เนื่องจากผู้เสียหายทำการยื่นคำฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลในเขตอำนาจศาล ดังนั้นกรณีนี้การประกันตัวจะต้องประกันตัวในชั้นศาลเท่านั้น ไม่มี พนักงานสอบสวนหรืออัยการมาเกี่ยวข้อง 1.ชั้นโรงพัก 2.ชั้นอัยการ 3.ชั้นศาล สอบถามร้อยเวร เจ้าของคดี บางคดีอาจจะไม่ต้องประกันที่โรงพัก ดูด้วยมีหมายจับหรือเปล่า…

III ขั้นตอนการประกันตัว

การประกันตัวมีขั้นตอนดังต่อไปนี้1. สอบถามต่อเจ้าหน้าที่ว่า เราถูกตั้งข้อหาในข้อหาอะไร2. เมื่อรู้ข้อหาแล้ว สอบถามต่อไปว่าใช้หลักทรัพย์เท่าไหร่ / ใช้หลักทรัพย์อะไรได้บ้าง (เงินสด/ที่ดิน/กรมธรรพ์อิสรภาพ/อื่นๆ)3. หากหลักทรัพย์ของเรามีเพียงพอ ก็ใช้หลักทรัพย์ของเราประกันตัวเอง4. หากหลักทรัพย์เรามีไม่พอก็ไปหาเช่าหลักทรัพย์ จากผู้ให้บริการต่างๆ5. ดูด้วยว่าประกันตัวใน  I.ชั้นพนักงานสอบสวน II.ชั้นอัยการ หรือ III.ชั้นศาล6. เอกสารที่ใช้ใช้อะไรบ้าง เตรียมไปให้ครบI หลักทรัพย์ ที่ใช้ได้II ประกัน ในชั้นไหนกลับหน้า เช่าหลักทรัพย์ประกัน

II ประกันตัวในชั้นไหน

ประกันตัวในชั้นไหน ดังนี้1. ประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน2. ในชั้นอัยการ3. หรือชั้นศาลท่านต้องสอบถามให้ละเอียด เพราะแต่ละขั้นตอนไม่เหมือนกันกรณีถูกแจ้งข้อกล่าวหา และหากต้องประกันตัวในชั้นพนักงานสอบสวน ให้สอบถามข้อมูลกับพนักงานสอบสวนว่าใช้หลักทรัพย์กี่บาท ใช้เอกสารอะไรบ้างกรณีมีหมายเรียก ไปแล้วท่านไม่ยอมไปตามหมายเรียก ของพนักงานสอบสวนและถูกออกหมายจับ เมื่อท่านถูกจับหรือเข้ามอบตัว ให้สอบถามพนักงานสอบสวนว่าประกันตัวที่ไหน กรณีนี้อาจจะต้องประกันตัวในชั้นศาลกรณีท่านถูกฟ้องเป็นจำเลยต่อศาล ศาลไต่สวนมูลฟ้องและพิจารณาว่าคดีมีมูล ในวันหรือก่อนวันนัดสอบคำให้การ ท่านจะต้องทำการประกันตัว กรณีนี้ให้โทรสอบถามที่ศาลว่าใช้หลักทรัพย์กี่บาท และท่านไปประกันตัวที่ชั้นศาลต่อไป (กรณีนี้เป็นประกันตัวในศาลชั้นต้น)กรณีศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และท่านต้องการประกันตัวในชั้นอุทธรณ์ ให้นำคำพิพากษามาดูด้วยว่าศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาลงโทษจำคุกกี่ปี และสอบถามศาลว่าประกันตัวในชั้นอุทธรณ์กี่บาท ท่านต้องนำข้อมูลการประกันตัวในศาลชั้นต้นมาบอกแก่ศาลด้วย เพราะมันเป็นการประกันตัว ต้องคิดฐานมาจากประกันตัวในศาลชั้นต้นกรณีศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษา และท่านต้องการประกันตัวในชั้นฎีกา เช่นเดิมนำคำพิพากษาในชั้นอุทธรณ์และศาลชั้นต้นมาดูด้วย สอบถามหลักทรัพย์ที่ต้องใช้กี่บาท ต่อศาลI หลักทรัพย์ ที่ใช้ได้III ขั้นตอน ประกันตัวกลับหน้า เช่าหลักทรัพย์ประกัน

I หลักทรัพย์ที่สามารถนำมาใช้ประกันตัวได้

ปกติที่หลักทรัพย์ ที่ใช้กันจะมีดังต่อไปนี้ 1. เงินสด2. โฉนดที่ดิน3. กรมธรรม์ประกันอิสรภาพเมื่อใช้หลักทรัพย์แต่ละประเภทแตกต่างกันออกไป มีผลคือท่านต้องเตรียมเอกสารต่างๆแตกต่างกันออกไปตามแต่ละประเภท1. ถ้าใช้เงินสด เอกสารที่ต้องใช้ถ้าท่านใช้เงินสดของตัวเอง วางประกันตัวในชื่อของจำเลย ปกติที่ต้องใช้คือบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของจำเลย2. ถ้าท่านใช้โฉนดที่ดินเอกสารที่ต้องใช้คือ โฉนดที่ดินตัวจริง ภาพถ่ายที่ดิน ทางเข้าที่ดิน ราคาประเมินที่ดินจากสำนักงานที่ดินไม่ควรเกิน 1 เดือน บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดิน และเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินจะต้องมา เซ็นเอกสารประกันตัวด้วยตัวเองบัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของจำเลย3. กรมธรรม์ประกันอิสรภาพกรณีนี้ให้ท่านติดต่อกับบริษัทที่ขายกรมธรรม์ต่างๆ หลักฐานที่ต้องใช้ ก็จะเป็นบัตรประชาชนทะเบียนบ้านของจำเลย บัตรประชาชนและทะเบียนบ้านของผู้ค้ำประกัน เอกสารแสดงการทำงานของผู้ค้ำประกันเช่นหลักฐานเงินเดือน หลักฐานการทำงาน การซื้อกรมธรรม์ประกันอิสรภาพเรื่องเอกสารเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นจึงจะต้องตรวจสอบให้ละเอียดก่อน (กรมธรรม์ประกันอิสรภาพ จะมีความจุกจิกเรื่องเอกสารมาก)II ประกัน ในชั้นไหนIII ขั้นตอน ประกันตัวติดต่อ เช่าหลักทรัพย์ประกัน

End of content

End of content